สถานการณ์การท่องเที่ยวไทย

การท่องเที่ยวโลกเติบโตขึ้นอย่างมากในปี 2017 จากรายงานของ UNWTO (2018) ระบุว่า ในปี 2017 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกกว่า 1.3 พันล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 7 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 8 ตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมา และในปี 2018 จำนวนนักท่องเที่ยวก็เพิ่มสูงถึง 1.4 พันล้านคน คิดเป็นอัตราการเปลี่ยนร้อยละ 6 (New Straits Times, 2019) ทั้งนี้…

บทสรุปผู้บริหาร

การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการได้กลายมาเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างรายได้และขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมาตั้งแต่แรกเริ่มเข้าสู่ยุคหลังสงครามเย็นในทศวรรษที่ 1990 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นการท่องเที่ยวยังมีความสำคัญในแง่ของการจ้างงาน ภายใต้ภาวะที่จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าในด้านหนึ่งจะส่งผลในการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงาน แต่อีกด้านหนึ่งการขยายตัวของการท่องเที่ยวดังกล่าวโดยปราศจากการบริหารจัดการที่เหมาะสม เป็นแรงกดดันต่อการแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติและส่งผลกระทบในด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยของเครือข่ายวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโครงการนี้จะเป็นการวิจัยแบบบูรณาการโดยผนึกศาสตร์ ความรู้และความเชี่ยวชาญต่างๆ เข้าด้วยกัน การออกแบบโครงการวิจัยยังคำนึงถึงห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งยังมีการวิเคราะห์แยกแยะกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนยังเน้นการสร้างคนและสร้างความยั่งยืน นอกจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีองค์ความรู้ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับชุมชนในประเทศ ตลอดจนมีความรู้แบบสหวิทยาการเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาค รวมทั้งมีเครือข่ายที่แน่นแฟ้นกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ดังนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีศักยภาพที่จะสามารถเชื่อมแผนการท่องเที่ยวของไทยในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และ ระดับภูมิภาคได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ประชาคมวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับศตวรรษที่ 21 โดย 1.1…