International Conference on Creative Tourism and Development

การประชุมเชิงวิชาการระดับนานาชาติในหัวข้อ “International Conference on Creative Tourism and Development: Creativity, Connectivity and Sustainability in ASEAN” เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านไปเป็นที่เรียบร้อย และได้รับความสนใจในวงการการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการเชิญคุณ Greg Richards ซึ่งเป็นผู้คิดค้นนิยามการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (creative…

การพบปะกับรองประธาน มูลนิธิฮักเมืองน่าน

โครงการที่ 3 ได้มีโอกาสสัมภาณ์คุณถนัด ใบยา รองประธานมูลนิธิฮักเมืองน่าน ถึงแนวคิดที่มีต่อการท่องเที่ยว และบทบาทของมูลนิธิฯ ที่สามารถสนับสนุนการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านได้ โครงการฯ ได้มีโอกาสพบปะกับคุณถนัด ใบยา ประธานมูลนิธิฯ เมื่อปลายเดือนกันยายน 2562 สมาชิกมูลนิธิฮักเมืองน่าน ณ ที่ทำการของมูลนิธิฯ ภายในวัดอรัญญาวาสเอื้อเฟื้อภาพโดยคุณถนัด ใบยา คุณถนัด กล่าวว่า ทางมูลนิธิฯ สนใจการท่องเที่ยวในมิติเชิงวัฒนธรรม และธรรมชาติ แต่ปัจจุบันนี้การท่องเที่ยวในทั้ง 2 มิติ ยังคงเป็นการท่องเที่ยวกระแสหลักอยู่ เส้นทางท่องเที่ยวก็มักจะกระจุกตัวอยู่ในอำเภอท่องเที่ยวหลัก สำหรับมูลนิธิฯนั้น…

เส้นทางท่องเที่ยวระนอง-เกาะสอง

เส้นทางระนอง - เกาะสอง ทีมวิจัยชุดอันดามัน ได้ทดลองเดินทางจากอ.เมือง จ.ระนอง ข้ามไปยังเกาะสอง (แผ่นดินใหญ่) ประเทศเมียนมา ในช่วงปลายเดือนตุลาคม โดยเลือกขึ้นเรือที่ท่าเทียบเรือ Grand Andaman ซึ่งต้องเสียค่าโดยสารคนละ 120 บาทในฝั่งไทย และ 30 บาทในฝั่งเมียนมา เรือโดยสารของบริษัท Grand Andaman นั้น จะเดินทางจากตัวเมืองระนองไปยังเกาะตะเทจูน (Thahtay Kyun) หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่าเกาะสน ที่เกาะสนเป็นจุดเปลี่ยนเรือ นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมบรรยากาศของโรงแรม หรือค้างคืนที่นี่ได้…

การท่องเที่ยวโดยชุมชน ต.บ่อสวก

ณ ต.บ่อสวก อ.เมืองน่าน จ.น่าน มีกลุ่มจัดการท่องเที่ยวที่เรียกว่า “ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบ่อสวก” ชมรมนี้เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มอาชีพจากหลากหลายชุมชน ได้แก่ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านบ่อสวก กลุ่มจักรสานบ้านต้าม กลุ่มทอผ้าบ้านซาวหลวง กลุ่มแปรรูปน้ำอ้อยบ้านป่าคา สวนเกษตรอินทรีย์/ลูกประคบบ้านเชียงยืน และกลุ่มวิสาหกิจใบโอดีเซลบ้านป่าฝางสามัคคี ชมรมฯจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2555 โดยการสนับสนุนขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานน่าน กลุ่มจักรสานบ้านต้าม  ต.บ่อสวก เต็มไปด้วยทรัพยากรที่มีคุณค่า และประวัติศาสตร์อันยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำอ้อยตามทุ่งนา โดยมีหีบอ้อยโบราณมาก่อนที่จะจัดการท่องเที่ยว สมัยโบราณเคยผลิตอ้อยส่งให้ราชสำนักน่าน แหล่งเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาที่ต.บ่อสวก ต่างจากที่บ้านเชียง และสวรรคโลก…

กลองปูจา เรื่องเล่าที่ซ่อนอยู่ในวิถีชีวิตคนจังหวัดน่าน

อพท.ได้สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูขนบของกลองปูจาในหลายโอกาส กลองปูจานี้กระจายอยู่ในวัดหลายแห่งในจังหวัดน่าน และเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมจริงๆ เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ ตัวอย่างเช่น ในจังหวัดลำปาง มักจะอยู่ในรูปแบบของการประกวดกลอง และมีการปรับแต่งลวดลาย ตลอดจนท่วงท่าให้มีความแตกต่างจากของเดิม หรือกล่าวได้ว่า กลองปูจาในจังหวัดอื่นของภาคเหนือ ไม่ได้สื่อถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมได้ดีเท่าในจังหวัดน่าน พิธีวางพุ่มดอกไม้ วันพระเจ้าน่าน 5 เมษายนของทุกปี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน กลองปูจาในวัดพระเกิด เอกลักษณ์ของกลองปูจาในจังหวัดน่าน จะมีการวางเรียงตามขนาด สำหรับบทบาทของสภาวัฒนธรรมฯ ได้มีการรื้อฟื้นเรื่องราวของกลอง และส่งเสริมการเล่าเรื่องราวของกลองที่ใช้ตีในวันโกน (วันขึ้น 7 ค่ำ และ…

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

จุฬาฯ ผนึกกำลังกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรุกพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์พื้นที่น่าน-อันดามัน  เสริมศักยภาพท้องถิ่นและพัฒนาชุมชนด้วยนวัตกรรม   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุกสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ลงนามความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน เน้นเสริมสร้างศักยภาพท้องถิ่นและพัฒนาชุมชนด้วยนวัตกรรม ปักหมุดน่านและอันดามันพื้นที่ต้นแบบ วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือใน “โครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ร่วมกับนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุม 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🔎 อ่านข่าวเพิ่มเติม  https://www.chula.ac.th/news/25328/

สมาคมประมงพื้นบ้านบ้านทุ่งน้อย

ทีมวิจัยอันดามันได้มีโอกาสลงพื้นที่สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล และถอดบทเรียนจากสมาคมประมงพื้นบ้านบ้านทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงวันที่ 23 -25 ตุลาคมที่ผ่านมา หมู่บ้านแห่งนี้มีการทำประมงที่กำหนดโควต้า และประเภทในการจับสัตว์ทะเล เพื่อไม่ให้กระทบต่อทรัพยากรสัตว์ทะเลมากเกินไป หรือกล่าวได้ว่า เป็นการประมงขนาดเล็กกว่าเรือประมงพาณิชย์ทั่วไป และไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสัตว์ทะเลโดยส่วนใหญ่ จุดเตรียมอุปกรณ์ทำประมงของชาวบ้านในสมาคมฯ เรือประมงของชุมชน นักวิจัย และนักศึกษาเยี่ยมชมเรือประมงของชุมชน สมาคมฯดังกล่าว ยังมีธนาคารปูม้า ที่ก่อตั้งเพราะปัญหาสัตว์ทะเลลดลง จากการที่เรือพาณิชย์ขนาดใหญ่จับสัตว์ทะเลโดยไม่กำหนดโควต้า และใช้เครื่องมือที่สร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรทางทะเล โครงการดังกล่าวดำเนินการบนฐานแนวคิดที่ว่า การทำประมงสามารถทำพร้อมกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเลได้ นอกจากนี้ ในชุมชนยังมีร้านคนทะเล ซึ่งจะเน้นการนำเสนอสินค้าอาหารให้แตกต่างจากร้านขนาดใหญ่ มีการขายส่งที่ห้างสรรพสินค้า…

โรงเรียนชาวนา ฟาร์มสเตย์กลางทุ่ง

สมาชิกบางท่านในโครงการเรามีโอกาสพบกับคุณสุดธนา ปัทมวัฒน์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนชาวนา เมื่อ 2 ปีก่อน ในวันที่ 29 ก.ย. 2562 โครงการที่ 3 โครงการวิจัยเพื่อการถอดบทเรียนและการผลักดันเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ได้ลงพื้นที่จังหวัดน่าน และมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อการท่องเที่ยวกับคุณสุดธนาอีกครั้ง ทีมวิจัยโครงการที่ 3 พูดคุยกับคุณสุดธนา เรือนรับรองหลัก           ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา คุณสุดธนากล่าวว่า ทางโฮมสเตย์โรงเรียนชาวนามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการต่อเติมบ้านพัก เพื่อให้รองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น มีกิจกรรมสำหรับกลุ่มนักเรียน ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่สนใจ เช่น…

การสำรวจภาคสนามของโครงการที่ 2.4 ในจ.ประจวบคีรีขันธ์

สำรวจภาคสนามจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมืองอ่าว เขา ถ้ำ และทะเลที่สวยงาม เมื่อวันที่ 6-8 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยการออกแบบการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ได้ลงภาคสนามสำรวจพื้นที่ที่มีจุดเด่นที่น่าสนใจ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ ซึ่งจุดหลักๆที่พวกเราสำรวจมี 6 พื้นที่ด้วยกัน ดังนี้ 📍1. สมาคมประมงพื้นบ้านทุ่งน้อย ต.เขาแดง อ.กุยบุรี📍2. สมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวคั่นกระได ต.อ่าวน้อย อ.เมือง📍3. ครัวชมวาฬ ต.บ่อนอก อ.เมือง📍4. ชุมชนบ้านห้วยยาง อ.ทับสะแก📍5. พิพิธภัณฑ์และอาคารประวัติสงครามกองบิน…

โคมมะเต้า วิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนาในจ.น่าน

ณ อ.ภูเพียง จ.น่าน มีแหล่งทำโคมมะเต้า ที่ได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากอพท.สำนักงานน่าน คือ ศูนย์การเรียนรู้โคมหม่าเต้า บ้านโคมคำ 152 หมู่ 4 ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน ซึ่งเจ้าของบ้าน คือ อาจารย์ถิรนันท์ โดยดี ได้ริเริ่มประดิษฐ์โคมมะเต้าโบราณเป็นเวลากว่า 2 ปี หลังจากเกษียณอายุราชการจากการเป็นครูที่โรงเรียนตาลชุมพิทยาคม อ.เวียงสา บรรยากาศบริเวณทางเข้าบ้าน บ้านโคมคำได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากอพท. แรกเริ่มนั้น อ.ถิรนันท์ อาศัยการเรียนรู้จากเด็กนักเรียนในงานอบรมเชิงปฏิบัติการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เกี่ยวกับการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีความสนใจนั่งเรียนรู้การประกอบโคมมะเต้าไปพร้อมกับนักเรียน…

ระบบการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว – ความท้าทายสำคัญของเมียนมา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา หัวหน้าโครงการที่ 1.6 ของชุดน่าน และ 2.3 ของชุดอันดามัน ได้ลงพื้นที่สำรวจการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวผ่านด่านสิงขร และจุดผ่านแดนที่ระนอง-เกาะสอง (Kawthaung) แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในเมียนมาที่เป็นเกาะ ยังคงความสวยงาม และมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบอีกจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญในการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างไทย-เมียนมา และภายในเมียนมาเองนั้น คือระบบการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว ที่ต้องอาศัยการพัฒนา และพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ หากระบบขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวมีคุณภาพ และมาตรฐาน การท่องเที่ยวระหว่างชายแดนไทย-เมียนมา บริเวณพื้นที่อันดามันในอนาคตก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจะเดินทางจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ฝั่งไทย ข้ามไปยังประเทศเมียนมานั้น เส้นทางผ่านด่านสิงขรถือเป็นเส้นทางหลักเพียงแห่งเดียว…

ความเป็นมาของราชวงศ์หลวงติ๋นโดยสรุป

เกริ่นนำ นักท่องเที่ยวไม่น้อยที่เดินทางไปถึงจังหวัดน่านจะพบว่าน่านเป็นดินแดนที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ แต่ประวัติศาสตร์ของน่านนั้นมีความยาวนานและเต็มไปด้วยเรื่องราวมากกว่าที่ตาเห็นจากโบราณสถาน  ประวัติศาสตร์ของเมืองน่านผ่านการก่อตั้ง รุ่งโรจน์ ล่มสลาย และกำเนิดใหม่หลายครั้ง หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญคือราวพุทธศตวรรษที่ 23-24 ซึ่งน่านต่อสู้ดิ้นรนและสถาปนาความเป็นรัฐอิสระของตัวเองกลับขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะเข้าใจประวัติศาสตร์น่านในพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งคลี่คลายมาเป็นน่านในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น สิ่งแรกที่เราควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจก่อน คือน่านในช่วงเวลาดังกล่าวมีการปกครองที่ค่อนข้างเป็นอิสระโดยเจ้าผู้ปกครอง “ราชวงศ์หลวงติ๋น” ซึ่งมี “หลวงติ๋นมหาวงศ์” เป็นปฐมวงศ์และเป็นต้นสกุล “ณ น่าน” ในปัจจุบัน เจ้าผู้ปกครองในตระกูลนี้คือผู้ปลุกปั้นน่านให้กลายมาเป็นรัฐอิสระ ปกครองน่านระหว่าง พ.ศ. 2329 - 2442 และส่งทอดมรดกความเป็นน่านมายังปัจจุบัน “หลวงติ๋น”…

การลงพื้นที่วิจัยของโครงการที่ 1.3

คณะผู้วิจัยโครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ หัวหน้าโครงการย่อยที่ 1.3 การจัดตั้งศูนย์อ้างอิง และวิจัยฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมฯ พร้อมด้วย อ.ดร.วัชรพงศ์ รติสุขพิมล และศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ ดร.มงคล เตชะกำพุ  ตัวแทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อบูรณาการโครงการต่างๆใน จ.น่าน เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน โดยท่านมอบหมายให้รองผู้ว่าฯ นายวัชรพงษ์ โพธิ์สูง เป็นตัวแทนเพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับการประสานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องในจังหวัดน่าน เพื่อสนับสนุนการให้ข้อมูลในการดำเนินโครงการฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.30-…

พิธีลงนาม MOU ระหว่าง 3 หน่วยงาน

วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2562 เวลา 13.30 น.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือใน “โครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ร่วมกับนายอนันต์ วงศ์เบญจรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วยนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) - อพท. ณ ห้องประชุม 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอนันต์ วงศ์เบญจรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา…

เส้นทางสายกาแฟ จ.น่าน

ทีมวิจัยของโครงการย่อยที่ 1.5 และ 3 ได้จัดทริปทดลองตามเส้นทางสายกาแฟในจ.น่าน โดยมีเป้าหมายคือ ร้านที่จำหน่ายกาแฟที่มีแหล่งปลูกในจ.น่าน เส้นทางสายกาแฟที่ว่านี้ มีด้วยกันทั้งหมด 4 ร้านในเขตอ.เมืองน่าน ได้แก่ ร้าน Erabica, ร้านภูพยัคฆ์, ร้าน น.น่าน, และร้านเฮือนฮังต่อ และในส่วนของต่างอำเภออีก 3 ร้าน อันได้แก่ ร้านฮิมวัดคาเฟ่ในอ.เชียงกลาง บ้านจักษ์กะพัฒน์บนดอยสกาด อ.ปัว และร้านจ๊างน่านในอ.เวียงสา สำหรับร้านกาแฟเดอม้งที่ดอยมณีพฤกษ์นั้น ทางทีมวิจัยได้ไปสำรวจมาก่อนหน้า การท่องเที่ยวตามเส้นทางสายกาแฟเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากร้านกาแฟไม่ได้เป็นเฉพาะจุดแวะดื่มกาแฟเท่านั้น…

วัดพระเกิด

วัดพระเกิด สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่น่าสนใจวัดแห่งนี้มีพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมของเก่าในชุมชน .โดยแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างจะเป็นที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณ มีทั้งที่เป็นแบบจำลอง และของจริง ส่วนชั้นบนจะเน้นไปที่หลักฐานทางพระพุทธศาสนา เช่น หนังสือแบบเรียนภาษาล้านนา รวมถึงคัมภีร์ใบลานซึ่งใช้อักษรธรรมล้านนา และยังมี “พื้นเมืองน่าน” ฉบับวัดพระเกิด อันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (พงศาวดาร) ชิ้นสำคัญของจ.น่าน ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนน่านที่ยึดโยงกับพระพุทธศาสนา.นอกจากนี้ วัดพระเกิดยังเป็นสถานที่สำหรับทำ “ตุงค่าคิง” หรือตุงก้าคิง ที่มีความสูงเท่ากับตัวคน คนท้องถิ่นมีความเชื่อว่าการทำตุงค่าคิงนี้ ก็เพื่อที่จะสะเดาะเคราะห์ หรือสืบชะตา โดยสามารถทำตุงค่าคิงได้ทุกโอกาส และฤดูกาล พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด ซึ่งอยู่ในบริเวณวัด ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ ชั้นล่างเป็นที่เก็บข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณ กี่ทอผ้า…

เตาเผาบ่อสวกโบราณ บ้านจ่ามนัส

แหล่งเครื่องปั้นดินเผา ในจ.น่าน  ที่บ้านบ่อสวก มีบ้านของจ่ามนัส (จ่าสิบตรีมนัส ติคำ) ที่บังเอิญไปขุดเจอบางส่วนของเตาเผาครั้งแรกในปี 2520 และด้วยความโชคดีที่จ่ามนัสปลูกไม้ยืนต้น ทำให้โบราณวัตถุที่ถูกทับถมอยู่ในดินเหล่านี้ไม่ได้รับความเสียหายมากนัก ตลอดระยะเวลา 20 ปี จ่ามนัสดูแลพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน และเตาเผาโบราณด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวมาตลอด โดยไม่ได้พึ่งงบประมาณจากภาครัฐ และมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือ การเปิดบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แทนที่จะเก็บค่าเข้าชม หรือทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์  เดิมทีนั้นจ่ามนัสและภรรยา ได้ขุดพบชิ้นส่วนของเตาเผาตามต้นไม้ในปี 2520 โดยบังเอิญ และไม่ได้ทำการขุดเพิ่มเติม  ก่อนหน้านั้น ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดี ได้ทำการสำรวจแหล่งเครื่องปั้นดินเผาในภาคเหนือ…

ทริปทดลองประจวบฯ-เมียนมา

ภาพบางส่วนจากทริปทดลอง ที่โครงการกลุ่มอันดามันจัดร่วมกับศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา ภายใต้ชื่อ Tourism Connectivity: Prachuap Khirikhan Province in Thailand and Myeik in Myanmar Project ระหว่างวันที่ 14-20 พฤษภาคม 2562 ในภาพชี้ให้เห็นบรรยากาศเส้นทางท่องเที่ยวหลังจากข้ามด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังเมืองตะนาวศรี (Tanintharyi) และมีจุดหมายปลายทางหลักที่เมืองมะริด (Myeik) นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังเดินทางข้ามไปยังเกาะโดม และ Smart Island…

ความเป็นมาของโครงการพื้นที่จังหวัดน่าน โดยศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ดำเนินรายการ - ดร.ธีรารัตน์ พันทวีวิทยากร - ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายการสถานีวิทยุจุฬาฯ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านกำกับดูแลด้านยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับสถานีวิทยุจุฬาฯ ถึงวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ร่วมกับพื้นที่จังหวัดต่างๆว่า มาจากการที่ปริมาณการท่องเที่ยวของไทยได้ขยายตัวอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่ง ทำส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จากการที่นักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก ดังนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีความพร้อมในการพัฒนาโครงการต่างๆ โดยร่วมมือกับชุมชนในการสร้างการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมากขึ้น และก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป…

สัมภาษณ์ Mr. Kaleb jordan แห่งหมู่บ้านมณีพฤกษ์ 3

วันที่ 8 มิถุนายน 2562 ณ หมู่บ้านมณีพฤกษ์ 3 ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน …………………………………………………………………………………….. ผู้สัมภาษณ์ : ดร.ฐิติมา ตั้งเลิศไพบูลย์ และ ผศ.ดร.สุกานดา เหลืองอ่อน ลูวิส ผู้ให้สัมภาษณ์ : Mr. Kaleb Jordan เจ้าของร้านกาแฟ Gem Forrest Coffee 1. ความเป็นมาของคุณ…

สัมภาษณ์รองฯกล้วย แห่งหมู่บ้านมณีพฤกษ์ 1

วันที่ 8 มิถุนายน 2562 ณ ร้าน Coffee De Hmong (บ้านนายพะ) 208 ม.11 ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน …………………………………………………………………………………….. ผู้สัมภาษณ์ : ดร.ฐิติมา ตั้งเลิศไพบูลย์ และ ผศ.ดร.สุกานดา เหลืองอ่อน ลูวิส ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณวิชัย  กำเนิดมงคล รองนายกเทศมนตรีตำบลงอบ 1)…

พูดคุยกับผู้ก่อตั้ง “Cocoa Valley Resort” ธุรกิจ Cocoa ครบวงจรเพื่อความยั่งยืนในชุมชน

วันที่ 8 มิถุนายน หลังออกเดินทางจากริสาสินีสปาแอนด์รีสอร์ทในตัวเมือง ทีมวิจัยได้มุ่งหน้าไปที่อ.ปัว และมีโอกาสพูดคุยกับคุณมนูญ ทนะวัง และคุณจารุวรรณ จิณเสน (ภรรยา) ผู้ร่วมก่อตั้ง Cocoa Valley Resort คุณมนูญเคยทำงานในบริษัทแท่นขุดเจาะน้ำมันสัญชาติอเมริกา ก่อนตัดสินใจลาออกเพื่อทำสิ่งที่ตัวเองรัก ณ บ้านเกิด อ.ปัว ประกอบกับมีความสนใจในเรื่องราวของโกโก้ (Cocoa) จนเกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะรีโนเวทรีสอร์ท และทำธุรกิจโกโก้ที่แตกต่างจากตลาดกระแสหลักควบคู่ไปด้วย   Cocoa Valley รับซื้อโกโก้จากชุมชนเป็นหลักมากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ นอกจากนี้ ยังเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน…

สัมภาษณ์คุณเล็ก สัจจพงษ์ จินดาพล ผู้บริหาร ริสาสินีสปาแอนด์รีสอร์ท (Risasinee Spa & Resort)

📌 สำหรับความเป็นมาของการปลูกกาแฟ ณ หมู่บ้านมณีพฤกษ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านบนภูเขาสูงในเขตอ.ทุ่งช้าง จ.น่านนั้น  เดิมทีเป็นพื้นที่สีแดงจากการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลไทยขณะนั้น กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังจากสงครามยุติลง เจ้าหน้าที่ของราชการได้จัดหาที่อยู่อาศัย และให้ความช่วยเหลือในการอพยพชาวบ้าน จนก่อตั้งเป็นหมู่บ้านสำเร็จ ซึ่งชื่อ “มณีพฤกษ์” นั้นตั้งตามชื่อของนายตำรวจ และนามสกุลของนายทหารคู่หนึ่ง เพื่อเป็นเกียรติในการร่วมก่อตั้งหมู่บ้าน🔎 Mr. Kaleb Jordan ลูกของคณะมิชชันนารี ถือเป็นผู้บุกเบิกในการนำกาแฟเข้ามาปลูกยังหมู่บ้านมณีพฤกษ์ หลังจากนั้นคุณวิชัย กำเนิดมงคล หรือที่รู้จักกันในชื่อรองกล้วย ซึ่งเป็นชาวม้งที่ได้ไปศึกษาในกรุงเทพมหานคร ได้ตัดสินใจกลับบ้าน และริเริ่มการปลูกกาแฟเป็นอาชีพหลัก ทั้ง 2 ท่านนี้มีแนวคิดตรงกันที่อยากเห็นชาวบ้านมีรายได้จากกาแฟซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ…

บรรยากาศการประชุมระดมความคิด

เรื่อง “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562 เวลา 8.30 -12.00 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน การแสดงพื้นเมืองชุดฟ้อนล่องน่าน และการจัดบูธกิจกรรมในช่วงเช้า การนำเสนอโครงการภาพรวม และการประชุมระดมความคิดแยกตามโครงการย่อย การลงนามข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ระหว่างโครงการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์จากจังหวัดน่านสู่สากลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (โครงการย่อยที่ 1.1) กับผู้ประกอบการด้านสิ่งทอ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในจังหวัดน่าน ลิงค์ข่าวที่เกี่ยวข้อง : http://www.domesticthailand.com/show.php?board_id=668&board_group_id=1

โครงการ “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 เวลา 13.30 น. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกานดา เหลืองอ่อน ลูวิส หัวหน้าโครงการ “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ได้เข้าพบนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับอพท. นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ  ยินดีให้ความร่วมมือกับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพราะเห็นว่าความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงานจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เนื่องจากฐานกิจกรรมของอพท.ที่ดำเนินการในอดีตมีแนวโน้มที่จะเชื่อมโยงกับโครงการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ กิจกรรมต่างๆ…

แนะนำโครงการ “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562 เวลา 10.30 น. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกานดา เหลืองอ่อน ลูวิส หัวหน้าโครงการ “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ได้เข้าพบนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดน่าน และอันดามัน ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน…

สถานการณ์การท่องเที่ยวไทย

การท่องเที่ยวโลกเติบโตขึ้นอย่างมากในปี 2017 จากรายงานของ UNWTO (2018) ระบุว่า ในปี 2017 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกกว่า 1.3 พันล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 7 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 8 ตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมา และในปี 2018 จำนวนนักท่องเที่ยวก็เพิ่มสูงถึง 1.4 พันล้านคน คิดเป็นอัตราการเปลี่ยนร้อยละ 6 (New Straits Times, 2019) ทั้งนี้…