International Conference on Creative Tourism and Development

การประชุมเชิงวิชาการระดับนานาชาติในหัวข้อ “International Conference on Creative Tourism and Development: Creativity, Connectivity and Sustainability in ASEAN” เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านไปเป็นที่เรียบร้อย และได้รับความสนใจในวงการการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการเชิญคุณ Greg Richards ซึ่งเป็นผู้คิดค้นนิยามการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (creative…

การพบปะกับรองประธาน มูลนิธิฮักเมืองน่าน

โครงการที่ 3 ได้มีโอกาสสัมภาณ์คุณถนัด ใบยา รองประธานมูลนิธิฮักเมืองน่าน ถึงแนวคิดที่มีต่อการท่องเที่ยว และบทบาทของมูลนิธิฯ ที่สามารถสนับสนุนการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านได้ โครงการฯ ได้มีโอกาสพบปะกับคุณถนัด ใบยา ประธานมูลนิธิฯ เมื่อปลายเดือนกันยายน 2562 สมาชิกมูลนิธิฮักเมืองน่าน ณ ที่ทำการของมูลนิธิฯ ภายในวัดอรัญญาวาสเอื้อเฟื้อภาพโดยคุณถนัด ใบยา คุณถนัด กล่าวว่า ทางมูลนิธิฯ สนใจการท่องเที่ยวในมิติเชิงวัฒนธรรม และธรรมชาติ แต่ปัจจุบันนี้การท่องเที่ยวในทั้ง 2 มิติ ยังคงเป็นการท่องเที่ยวกระแสหลักอยู่ เส้นทางท่องเที่ยวก็มักจะกระจุกตัวอยู่ในอำเภอท่องเที่ยวหลัก สำหรับมูลนิธิฯนั้น…

เส้นทางท่องเที่ยวระนอง-เกาะสอง

เส้นทางระนอง - เกาะสอง ทีมวิจัยชุดอันดามัน ได้ทดลองเดินทางจากอ.เมือง จ.ระนอง ข้ามไปยังเกาะสอง (แผ่นดินใหญ่) ประเทศเมียนมา ในช่วงปลายเดือนตุลาคม โดยเลือกขึ้นเรือที่ท่าเทียบเรือ Grand Andaman ซึ่งต้องเสียค่าโดยสารคนละ 120 บาทในฝั่งไทย และ 30 บาทในฝั่งเมียนมา เรือโดยสารของบริษัท Grand Andaman นั้น จะเดินทางจากตัวเมืองระนองไปยังเกาะตะเทจูน (Thahtay Kyun) หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่าเกาะสน ที่เกาะสนเป็นจุดเปลี่ยนเรือ นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมบรรยากาศของโรงแรม หรือค้างคืนที่นี่ได้…

การท่องเที่ยวโดยชุมชน ต.บ่อสวก

ณ ต.บ่อสวก อ.เมืองน่าน จ.น่าน มีกลุ่มจัดการท่องเที่ยวที่เรียกว่า “ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบ่อสวก” ชมรมนี้เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มอาชีพจากหลากหลายชุมชน ได้แก่ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านบ่อสวก กลุ่มจักรสานบ้านต้าม กลุ่มทอผ้าบ้านซาวหลวง กลุ่มแปรรูปน้ำอ้อยบ้านป่าคา สวนเกษตรอินทรีย์/ลูกประคบบ้านเชียงยืน และกลุ่มวิสาหกิจใบโอดีเซลบ้านป่าฝางสามัคคี ชมรมฯจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2555 โดยการสนับสนุนขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานน่าน กลุ่มจักรสานบ้านต้าม  ต.บ่อสวก เต็มไปด้วยทรัพยากรที่มีคุณค่า และประวัติศาสตร์อันยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำอ้อยตามทุ่งนา โดยมีหีบอ้อยโบราณมาก่อนที่จะจัดการท่องเที่ยว สมัยโบราณเคยผลิตอ้อยส่งให้ราชสำนักน่าน แหล่งเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาที่ต.บ่อสวก ต่างจากที่บ้านเชียง และสวรรคโลก…

กลองปูจา เรื่องเล่าที่ซ่อนอยู่ในวิถีชีวิตคนจังหวัดน่าน

อพท.ได้สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูขนบของกลองปูจาในหลายโอกาส กลองปูจานี้กระจายอยู่ในวัดหลายแห่งในจังหวัดน่าน และเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมจริงๆ เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ ตัวอย่างเช่น ในจังหวัดลำปาง มักจะอยู่ในรูปแบบของการประกวดกลอง และมีการปรับแต่งลวดลาย ตลอดจนท่วงท่าให้มีความแตกต่างจากของเดิม หรือกล่าวได้ว่า กลองปูจาในจังหวัดอื่นของภาคเหนือ ไม่ได้สื่อถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมได้ดีเท่าในจังหวัดน่าน พิธีวางพุ่มดอกไม้ วันพระเจ้าน่าน 5 เมษายนของทุกปี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน กลองปูจาในวัดพระเกิด เอกลักษณ์ของกลองปูจาในจังหวัดน่าน จะมีการวางเรียงตามขนาด สำหรับบทบาทของสภาวัฒนธรรมฯ ได้มีการรื้อฟื้นเรื่องราวของกลอง และส่งเสริมการเล่าเรื่องราวของกลองที่ใช้ตีในวันโกน (วันขึ้น 7 ค่ำ และ…

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

จุฬาฯ ผนึกกำลังกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรุกพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์พื้นที่น่าน-อันดามัน  เสริมศักยภาพท้องถิ่นและพัฒนาชุมชนด้วยนวัตกรรม   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุกสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ลงนามความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน เน้นเสริมสร้างศักยภาพท้องถิ่นและพัฒนาชุมชนด้วยนวัตกรรม ปักหมุดน่านและอันดามันพื้นที่ต้นแบบ วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือใน “โครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ร่วมกับนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุม 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🔎 อ่านข่าวเพิ่มเติม  https://www.chula.ac.th/news/25328/

สมาคมประมงพื้นบ้านบ้านทุ่งน้อย

ทีมวิจัยอันดามันได้มีโอกาสลงพื้นที่สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล และถอดบทเรียนจากสมาคมประมงพื้นบ้านบ้านทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงวันที่ 23 -25 ตุลาคมที่ผ่านมา หมู่บ้านแห่งนี้มีการทำประมงที่กำหนดโควต้า และประเภทในการจับสัตว์ทะเล เพื่อไม่ให้กระทบต่อทรัพยากรสัตว์ทะเลมากเกินไป หรือกล่าวได้ว่า เป็นการประมงขนาดเล็กกว่าเรือประมงพาณิชย์ทั่วไป และไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสัตว์ทะเลโดยส่วนใหญ่ จุดเตรียมอุปกรณ์ทำประมงของชาวบ้านในสมาคมฯ เรือประมงของชุมชน นักวิจัย และนักศึกษาเยี่ยมชมเรือประมงของชุมชน สมาคมฯดังกล่าว ยังมีธนาคารปูม้า ที่ก่อตั้งเพราะปัญหาสัตว์ทะเลลดลง จากการที่เรือพาณิชย์ขนาดใหญ่จับสัตว์ทะเลโดยไม่กำหนดโควต้า และใช้เครื่องมือที่สร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรทางทะเล โครงการดังกล่าวดำเนินการบนฐานแนวคิดที่ว่า การทำประมงสามารถทำพร้อมกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเลได้ นอกจากนี้ ในชุมชนยังมีร้านคนทะเล ซึ่งจะเน้นการนำเสนอสินค้าอาหารให้แตกต่างจากร้านขนาดใหญ่ มีการขายส่งที่ห้างสรรพสินค้า…

โรงเรียนชาวนา ฟาร์มสเตย์กลางทุ่ง

สมาชิกบางท่านในโครงการเรามีโอกาสพบกับคุณสุดธนา ปัทมวัฒน์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนชาวนา เมื่อ 2 ปีก่อน ในวันที่ 29 ก.ย. 2562 โครงการที่ 3 โครงการวิจัยเพื่อการถอดบทเรียนและการผลักดันเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ได้ลงพื้นที่จังหวัดน่าน และมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อการท่องเที่ยวกับคุณสุดธนาอีกครั้ง ทีมวิจัยโครงการที่ 3 พูดคุยกับคุณสุดธนา เรือนรับรองหลัก           ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา คุณสุดธนากล่าวว่า ทางโฮมสเตย์โรงเรียนชาวนามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการต่อเติมบ้านพัก เพื่อให้รองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น มีกิจกรรมสำหรับกลุ่มนักเรียน ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่สนใจ เช่น…

การสำรวจภาคสนามของโครงการที่ 2.4 ในจ.ประจวบคีรีขันธ์

สำรวจภาคสนามจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมืองอ่าว เขา ถ้ำ และทะเลที่สวยงาม เมื่อวันที่ 6-8 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยการออกแบบการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ได้ลงภาคสนามสำรวจพื้นที่ที่มีจุดเด่นที่น่าสนใจ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ ซึ่งจุดหลักๆที่พวกเราสำรวจมี 6 พื้นที่ด้วยกัน ดังนี้ 📍1. สมาคมประมงพื้นบ้านทุ่งน้อย ต.เขาแดง อ.กุยบุรี📍2. สมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวคั่นกระได ต.อ่าวน้อย อ.เมือง📍3. ครัวชมวาฬ ต.บ่อนอก อ.เมือง📍4. ชุมชนบ้านห้วยยาง อ.ทับสะแก📍5. พิพิธภัณฑ์และอาคารประวัติสงครามกองบิน…

โคมมะเต้า วิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนาในจ.น่าน

ณ อ.ภูเพียง จ.น่าน มีแหล่งทำโคมมะเต้า ที่ได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากอพท.สำนักงานน่าน คือ ศูนย์การเรียนรู้โคมหม่าเต้า บ้านโคมคำ 152 หมู่ 4 ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน ซึ่งเจ้าของบ้าน คือ อาจารย์ถิรนันท์ โดยดี ได้ริเริ่มประดิษฐ์โคมมะเต้าโบราณเป็นเวลากว่า 2 ปี หลังจากเกษียณอายุราชการจากการเป็นครูที่โรงเรียนตาลชุมพิทยาคม อ.เวียงสา บรรยากาศบริเวณทางเข้าบ้าน บ้านโคมคำได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากอพท. แรกเริ่มนั้น อ.ถิรนันท์ อาศัยการเรียนรู้จากเด็กนักเรียนในงานอบรมเชิงปฏิบัติการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เกี่ยวกับการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีความสนใจนั่งเรียนรู้การประกอบโคมมะเต้าไปพร้อมกับนักเรียน…

ระบบการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว – ความท้าทายสำคัญของเมียนมา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา หัวหน้าโครงการที่ 1.6 ของชุดน่าน และ 2.3 ของชุดอันดามัน ได้ลงพื้นที่สำรวจการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวผ่านด่านสิงขร และจุดผ่านแดนที่ระนอง-เกาะสอง (Kawthaung) แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในเมียนมาที่เป็นเกาะ ยังคงความสวยงาม และมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบอีกจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญในการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างไทย-เมียนมา และภายในเมียนมาเองนั้น คือระบบการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว ที่ต้องอาศัยการพัฒนา และพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ หากระบบขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวมีคุณภาพ และมาตรฐาน การท่องเที่ยวระหว่างชายแดนไทย-เมียนมา บริเวณพื้นที่อันดามันในอนาคตก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจะเดินทางจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ฝั่งไทย ข้ามไปยังประเทศเมียนมานั้น เส้นทางผ่านด่านสิงขรถือเป็นเส้นทางหลักเพียงแห่งเดียว…